4 บทเรียน Google Ads จากการยิงโฆษณา(เกือบ 10 ปี)

การทำโฆษณาออนไลน์มันมีอะไรที่ผมชอบ และไม่ชอบอยู่ด้วยกันครับ สิ่งที่ผมชอบก็คือผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอด และสิ่งที่ผมไม่ชอบก็คือผมต้องเสียตังค์ก่อนที่จะรู้ว่าโฆษณาตัวนี้ได้ผลหรือไม่

ในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ผมได้รันโฆษณาให้กับบริษัทในทั้งประเทศไทย และต่างประเทศครับ (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทนอกมากกว่า เพราะผมกำลังเริ่มในไทยครับ) ผมเสียเงินโฆษณา หรือเรียกว่าติดลบตอนแรกๆก็ประมาณเกือบๆ $30,000 หรือ 800,000+ กว่าบาทครับ อย่าตกใจนะครับ เพราะในวงการนี้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากๆ 555+

โฆษณา Google Ads ถ้าคุณเคยทำมาอยู่แล้วจะรู้ครับว่าเราต้องทดลองหลายอย่างครับ

  • คำที่ใช้โฆษณา
  • คำพูดในโฆษณา
  • หน้า Landing page
  • และอีกมากมายหลายอย่างครับ

เพราะฉะนั้น ความผิดพลาดมันเลี้ยงไม่ได้แน่นอนครับ ถ้าตัวไหนตัวหนึ่งไม่ดี โฆษณาทั้งแคมเปนก็อาจจะล่มหรือถ้าไม่ดูดีๆ อาจจะเสียตังค์โดยที่ไม่รู้ตัวเอาง่ายๆเลยครับ

วันนี้ผมเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตการทำโฆษณาของผมว่าผมเจออะไรมาบ้าง และสิ่งที่ผมเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อคุณคืออะไร

ผมยอมรับเลยนะครับว่าผมไม่ได้สมบูรณ์แบบและไม่ทำผิดพลาดเลย ผมอาจจะเคยทำผิดพลาดในการทำโฆษณามามากกว่าหลายๆคนที่ทำโฆษณามาด้วยกันก็ได้ครับ เหตุผลก็คือผมเป็นคนชอบทดลองครับ เพราะทุกๆการทดลองผมจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆอยู่ตลอด

บทเรียนจาก Google Ads #1: ปรากฏการณ์ภาพลวงตา

สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้จากการทำโฆษณา Google Ads ตั้งแต่เริ่มจากคนที่ไม่รู้อะไรเลยจนมาได้ทำโฆษณาหลายร้อยโฆษณาต่อเดือนก็คือการเข้าใจ Keywords และ Search terms ครับ

การที่คุณสามารถรู้ดได้ว่า Keywords ไหนของคุณได้ผลหรือเปล่ามันไม่ใช่เรื่องยากครับ เพราะเมื่อก่อนผมก็เคยมีความเชื่อแบบนั้นเหมือนกัน แต่พอได้ลองมาทำโฆษณาเยอะขึ้น เข้าใจกลไกลของการทำโฆษณา Google Ads มากขึ้น ผมเข้าใจเลยครับว่า Search terms มีผลกระทบต่อโฆษณาผมมากกว่า Keywords ครับ

ถ้าใครยังไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์พวกนี้ ผมจะอธิบายให้ฟังนิดหนึ่งนะครับ

Keywords

ก็คือคำที่คุณใช้ทำโฆษณาครับ เช่น หูฟัง ผ้าอ้อม เสื้อผ้า อะไรแบบนี้เป็นต้นครับ ถ้ากลุ่มเป้าหมายค้นหาคำพวกนี้แล้วจะเจอโฆษณาที่ใช้คำพวกนี้ครับผม

เราจะเห็นนะครับว่าคำที่ผมเอามาเป็นตัวอย่างเป็นแค่คำโดดๆเลยครับ ไม่ได้มีอะไรมากกว่านี้ครับ เรามาดูอีกตัวหนึ่งกันครับผม

Search terms 

ตัวนี้จะแตกต่างจาก Keywords นิดหน่อยครับนั้นก็คือแทนที่จะเป็นแค่คำๆเดียวอย่าง Keywords ตัว Search terms นี้จะมากันเป็นประโยคเลยครับ

นั้นก็หมายถึงว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเจอโฆษณาคุณด้วยการค้นหาประโยคพวกนี้ครับผม

คนส่วนใหญ่จะค้นหาอะไรใน Google ด้วยการพิมพ์เข้ามาเป็นประโยคแบบนี้มากกว่าการพิมพ์คำเข้ามาโดดๆอยู่แล้วครับผม

เพราะฉะนั้นตัวนี้สำคัญมากครับ

ปรากฏการณ์ภาพลวงตาของผมนั้นก็คือการที่คุณพยายามจะปรับเปลี่ยน Keywords ในโฆษณาของคุณ แต่คุณไม่รู้ว่าตัวที่ทำให้คุณขาดทุนนั้นอาจจะมีลึกไปกว่านั้นครับ

เพราะฉะนั้นหลายๆคน (รวมทั้งผมด้วย) พยายามยังไงโฆษณาก็ไม่ดีขึ้นสักทีครับ เพราะไอเจ้าตัวที่ทำให้ผมขาดทุนจริงๆแล้วนั้นก็คือ Search terms ครับ ไม่ใช่ Keywords เพราะเจ้าตัว Keywords เราจัดการไม่ยากครับผม

ผมมั่นใจนะครับว่าถ้าคุณเข้าไปดูในโฆษณา Google Ads ของคุณ คุณจะเห็นครับว่าคุณจะมี Search terms แปลกๆที่กลุ่มเป้าหมายคุณหาโฆษณาคุณเจออยู่ครับ

การที่คุณสามารถจัดการปัญหา Search terms แปลกๆได้ ผมรับรองครับว่าคุณจะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงในการใช้จ่ายในโฆษณาของคุณได้ภายในไม่กี่วันแน่นอนครับ

วิธีการแก้ปัญหานี้

สร้างกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มคำโฆษณาออกมาต่างหากครับ แล้วหลังจากนั้นก็ใช้กลุ่มคำโฆษณาที่มันไม่กว้างเกินไปครับ เพราะปัญหาปรากฎการณ์ภาพลวงตาส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ทำกลุ่มคำของคีย์เวิร์ดกว้างเกินไปครับ

อีกวิธีหนึ่งก็คือถ้าคุณมีงบเยอะหน่อยก็อาจจะสามารถปล่อยโฆษณารันไปแล้วค่อยตัด Search terms แปลกๆ ออกไปก็ได้ครับ แต่คุณอาจจะต้องจ่ายเงินเยอะหน่อยครับ

บทเรียนจาก Google Ads #2: ปรากฎการณ์ไม้ไม่ติดไฟ

ตอนที่ผมทำโฆษณา AdWords ใหม่ๆ ผมเริ่มเห็นความสำเร็จและโฆษณาเริ่มที่จะทำกำไรให้ผม ผมทำเหมือนที่ทุกๆคนอยากจะทำครับ

ขยายโฆษณาออกไปในช่องทางอื่น เช่น Google display หรือ Facebook เป็นต้น

ผลออกมาเป็นยังไงครับ? ล้มเหลวไม่เป็นท่าครับ

ผมก็มาคิดกับตัวเองนะครับ “ที่ทำมามันได้ผลไม่ใช่เหรอว่ะ? ทำไมตอนนี้ถึงไม่โอเค โฆษณาแบบเดียวกันชัดๆเลย” ตอนนั้นผมงงมากครับและบอกตรงๆ รู้สึกตันๆครับ 555+

ผมเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “ไม้ไม่ติดไฟ” ครับผม

(จาก MThai News)

แปลแบบง่ายๆเลยก็คือผมมีความคาดหวังว่าผมจะได้รับผลลัพท์ที่ดีเหมือนกับโฆษณาก่อนๆที่ทำมา เพราะฉะนั้นผมเลยขยายโฆษณาไปช่องทางอื่นแต่มันแป๊กครับ มันไม่ติดไฟนั้นเอง ฮ่าๆ

ผมมาเรียนรู้ทีหลังครับว่าปัญหาจริงๆแล้วก็คือ

กลุ่มเป้าหมายที่มาจากแต่ละช่องทางอยู่ในอารมณ์คนละแบบกัน

ใช่ครับ ลองคิดตามผมดูนะครับ

  1. คนที่กำลังดูเฟสบุ๊ครอแฟนช็อปปิ้งเห็นโฆษณาที่เขาสนใจ
  2. คนที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่เขาสนใจ

คุณคิดว่า 2 คนนี้ คนไหนที่จะมีโอกาสที่จะซื้อสินค้ามากกว่ากันครับ? ถูกต้องค๊าบบบ! มันก็ต้องเป็นคนกลุ่มที่ 2 อยู่แล้วนะครับ เพราะว่าเขาอยากจะซื้อสินค้าตัวนั้น เขาเลยต้องค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของเขาครับ

ความผิดพลาดของผมก็คือตรงนี้เลยครับ ผมไม่เข้าใจตรงนี้ครับว่าคนพวกนี้เขามีความรู้สึก และอารมณ์ที่ไม่เหมือนกันครับผม

  • คนที่ดูวิดีโอชิวๆ vs. คนที่ดูวิดีโอสอนที่เขาค้นหา
  • คนที่เล่นเฟสบุ๊คชิวๆ vs. คนที่เล่นเฟสบุ๊คเพื่อติดต่อกับคนร่วมงาน
  • คนที่ค้นหาข้อมูลใน Google vs. คนที่ค้นหาเพื่อจะซื้อสินค้าใน Google

อะไรพวกนี้ถ้ามองลึกๆลงไปแล้วค่อนข้างที่จะซับซ้อนนิดหน่อยครับ แต่ถ้าคุณได้ทำโฆษณา และพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและอารมณ์ มันจะเริ่มเคลียร์ขึ้นเรื่อยๆครับผม

วิธีแก้ปัญหาปรากฎการณ์ไม้ไม่ติดไฟ

การแก้ปัญหานี้อาจจะฟังดูพูดง่ายแต่ทำยากครับ แต่สิ่งเดียวที่คุณทำได้ก็คือการทำโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่องทางครับผม

สมมุติถ้าคุณจะโฆษณาผ่าน YouTube กับ Facebook แต่เป็นวิดีโอเหมือนกัน ผมแนะนำให้ใช้วิดีโอคนละตัวกันครับ เพราะว่าคนเล่น Facebook ค่อนข้างที่จะชิวกว่าคนดู YouTube มากครับ

อีกอย่างคนที่ดูวิดีโอใน YouTube ส่วนใหญ่เขาต่อไวไฟอยู่ครับ เพราะคนที่ใช้เน็ตมือถือส่วนใหญ่ไม่อยากเสียเน็ตดู YouTube หรอกครับ

บทเรียนจาก Google Ads #3: บางทีก็ไม่ใช่เรื่องยอดขายเสมอไป

การทำโฆษณาใครๆก็รู้นะครับว่าคุณอยากที่จะเพิ่มยอดขายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ใช่ไหมครับ? แต่การที่คุณไปเจาะจงแต่การเพิ่มการขายอย่างเดียว มันจะทำให้คุณมองการทำโฆษณาค่อนข้างแคบเกินไปครับ

ลองคิดดูดีๆนะครับว่าคนที่เข้ามาในเว็บของคุณอาจจะไม่พร้อมที่จะซื้อทันที นอกจากคุณจะเจาะจงเขาถูก Buyer Journey ของเขา หรือเขาอาจจะมีเหตุผลอะไรหลายอย่างมากกว่านั้นครับที่เขาจะไม่ซื้อจากคุณทันที เพราะฉะนั้นถ้าคุณเจาะจงแต่ยอดขายอย่างเดียว คุณอาจจะพลาดคนพวกนี้ไปได้ครับ

ตอนที่ผมทำโฆษณา ผมจะแยกเป้าหมายโฆษณาแบบ 2 แบบครับ

  1. เป้าหมายแบบ macro-conversion – ตัวนี้ก็คือการขายครับผม เช่น คนเข้ามาในเว็บของผมแล้วก็ซื้อของจากเว็บครับ นั้นผมถือว่าเป็น macro-conversion ครับ
  2. เป้าหมายแบบ micro-conversion – แปลคำว่า micro ตรงๆเลยก็คือ “เล็ก” อะนะครับ ตัว micro conversion ก็คือคนที่เข้ามาในเว็บของผมแต่ไม่ได้ซื้อของทันทีครับ แต่เขาอาจจะเอาของใส่ตระกล้าหรืออะไรสักอย่างครับ เป็น Metric ที่มีความหมายครับ ไม่ใช่แค่เข้ามาในเว็บแล้วไม่ทันไรก็ออกไปเลย

สิ่งที่ผมไม่เคยใส่ใจเลยก็คือตัวที่ 2 ครับ ผมเครียดแต่กับที่ว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ซื้อของสักที ทำยังไงให้เขาซื้อดี ผมไม่ได้มองว่าเขาสนใจในสินค้าของผมหรือเปล่า

(เพิ่มเข้าตระกร้า)

จะเห็นนะครับว่าคนที่เอาของลงตระกร้ามีเยอะกว่าคนที่ซื้อของกว่า 3X เท่าเลยครับ

ลองคิดดูนะครับ ถ้าเว็บของคุณมี 3 ขั้นตอนก่อนที่จะซื้อสินค้าของคุณได้

  1. เข้ามาในเว็บ
  2. เพิ่มสินค้าเข้าตระกร้า
  3. จ่ายเงิน

แทนที่จะเจาะจงแต่ขั้นตอนที่ 3 ผมมาเจาะจงขั้นตอนที่ 2 ครับ เพราะว่าผมจะได้ข้อมูลจากคนกลุ่มนี้มากกว่าคนที่ไปถึงขั้นตอนที่ 3 ครับ

คนที่เข้ามาในเว็บคุณ 100 คน, 2 คนอาจจะซื้อของ แต่ 30 คนเพิ่มสินค้าเข้าตระกร้าครับ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ได้จากคนกลุ่มที่ 2 ก็จะมีคุณค่าเหมือนกันครับ สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่หาทางที่คุณจะสามารถทำให้เขาจ่ายเงินให้ได้เท่านั้นเองครับ

ผมไม่ได้บอกว่าให้คุณไม่ต้องเจาะจงคนกลุ่มที่ 3 นะครับ แต่ผมพยายามจะบอกว่าเจาะจงคนกลุ่มที่ 2 ด้วยครับ เพราะข้อมูลจากเขามีคุณค่าสำหรับคุณแน่นอนครับ

วิธีแก้ปัญหานี้

อย่างที่ผมบอกไปข้างบนเลยครับว่าคุณควรจะมองข้อมูล (Data) ที่ได้มาจากกลุ่มเป้าหมายให้กว้างมากกว่าเดิมครับ เพราะว่าการมองข้อมูลที่กว้างขึ้นจะสามารถทำให้คุณทำโฆษณาได้ตรงตัวมากขึ้นและ ช่วยให้คุณมีเป้าหมาย และข้อมูลขึ้นครับผม

บทเรียนจาก Google Ads #4: วัดผลก่อนทำโฆษณา

ใช่ครับ การทำโฆษณา AdWords นั้นสิ่งที่ต้องทำก่อนเลยก็คือการวัดผลครับ เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นโฆษณาอะไร ถ้าคุณไม่รู้ว่าเงินที่จ่ายไปทำกำไรกับคุณได้เท่าไหร่ คุณจะเหมือนเผาเงินไปเปล่าๆครับ

ผมเคยเชื่อครับว่าการทำโฆษณานั้นการวัดผลไม่สำคัญขนาดนั้น ขอให้เห็นยอดขายว่าได้เท่าไหร่ก็จะพอแล้ว แต่ทำโฆษณาไปเยอะๆแล้ว มาดูความคุ้มของการทำโฆษณาแล้วจะเห็นเลยครับว่ามันไม่ใช่เลย

ลูกค้าผมหลายๆคนที่ก่อนหน้าจะมาทำกับผมจะมีปัญหานี้ครับ ผมไม่รู้ว่าคนที่ทำให้เขาก่อนหน้านี้ไม่สนใจหรือยังไง เพราะเขารันโฆษณาให้อย่างเดียวแต่ไม่ได้วัดผลที่ดีเลย

ถ้าธุรกิจของคุณเกี่ยวกับบริการที่กลุ่มเป้าหมายของคุณต้องโทรมาเพื่อจะปิดการขาย อันนี้คุณต้องรัดกุมมากๆเลยครับเพราะว่าคุณจะวัดผลได้ยากครับ เพราะมันไม่มี Conversion point ที่ชัดเจนครับ

วิธีแก้ปัญหานี้

ถ้าคุณกำลังเริ่มและไม่ค่อยคล่องกับการทำโฆษณาเท่าไหร่ ผมแนะนำให้เริ่มจากการใช้ Google Analytics ในการวัดผลคร่าวๆไปก่อนนะครับ

Google Analytics ช่วงหลังๆถูกปรับเปลี่ยนให้ทำงานกับ AdWords ได้ดีมากขึ้นครับ เราก็พอจะรู้ๆกันอยู่นะครับว่า Google ทำอะไรทุกๆอย่างเพื่อที่จะสร้างรายได้จากการโฆษณาอยู่แล้วครับ

(Google analytics – การวัดผล)

แค่นี้ก็พอจะเริ่มแก้ปัญหาเรื่องการวัดผลไม่ได้แล้วครับ เรื่องนี้ค่อนข้างจะซับซ้อนนิดหน่อยครับ ถ้ามีคำถามอะไรเพิ่มเติมสามารถถามผมได้ตลอดเลยนะครับ

สรุปเลยแล้วกัน เพื่อนๆ จะได้เอาไปทำต่อ

การทำโฆษณาอย่างที่ผมบอกไปครับว่าไม่ว่าจะเป็น AdWords หรือ Facebook Ads หรือช่องทางอะไรก็แล้วแต่ คุณจะทำอะไรผิดพลาดไปสักอย่างอยู่แล้วครับ ผมก็ทำผิดพลาดมาเยอะเหมือนกัน เสียไปเกือบล้านครับทั้งตังตัวเองและตังลูกค้าด้วย แหะๆ

เพราะฉะนั้นคุณเรียนรู้จากบทเรียนของผมจะทำให้คุณประหยัดตังค์ และหลีกเลี่ยงการทำข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้เยอะครับ

อย่างที่ผมบอกไปตอนแรกครับว่าเรื่องนี้ค่อนข้างจะซับซ้อน ถ้าคุณมีคำถามอะไรผมแนะนำให้ถามผมได้ในคอมเมนต์ข้างล่างเลยครับ

โพสที่มีคนอ่านเยอะที่สุด: 

จำไว้นะครับว่าคุณจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของคุณมากกว่าความสำเร็จของคุณหลายเท่าครับ

สำหรับวันนี้ผมขอให้คุณโชคดี และรวยขึ้นเรื่อยๆครับ 🙂

Joe Jitnarin
การทำโฆษณา Google Ads ให้ได้ผลจริง

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Previous reading
4 กฎเหล็กของจิตวิทยาที่คนทำโฆษณาใน Facebook ต้องรู้!
Next reading
วิธีใช้ Audience Insights หากลุ่มเป้าหมายทำโฆษณา (ขั้นเทพ)