7 สิ่งสำคัญที่คุณต้องรีบทำ หลังจาก Google’s Helpful Content Update (August 2022)

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่มีเว็บและทำ SEO อยู่ ผมมั่นใจครับว่าพวกเราคงจะร้อนๆ หนาวๆ ไปตามๆ กัน ถ้าได้ยินว่า Google กำลังจะปรับ algorithm ของเขา เดือนนี้ Google ได้ประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่าเขากำลังจะมี update ใหม่ที่เรียกว่า “Google’s Helpful Content Update” ครับ

เอาง่ายๆ เลย Google พยายามที่จะทำให้คอนเทนท์ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ออกไปจากหน้าผลการค้นหาครับ

ก่อนอื่นเลย ถ้าใครที่ยังใหม่กับการได้ยินเกี่ยวกับ Google Algorithm Update แบบนี้ ผมจะอธิบายคร่าวๆ ก่อนครับว่า Google แต่ละปี เขาจะมีอัพเดทแบบนี้อยู่หลายๆ ครั้งครับ เพราะว่าเขาเองก็พยายามที่จะทำให้ผลลัพท์ของการค้นหาของเรา (search results) ออกมาดีครับ

เพราะอย่าลืมนะครับว่า เจ้าตัว search results นี้ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่เลยครับ ถ้าใครติดกูเกิ้ล คีเวิร์ดดีๆ รายได้มาแน่ครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้สำคัญมากๆ ครับ เขาเลยอัพเดทเรื่อยๆ ครับ

เกี่ยวกับ Google’s Helpful Content Update

หลักๆ แล้ว เขาอยากจะทำให้คอนเทนท์ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ ที่เขาเขียนเพื่อให้แค่ติดหน้าแรกของกูเกิ้ลออกไปครับ คอนเทนท์พวกนั้นก็จะมี

  • คอนเทนท์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ Google เห็น (เน้นคีเวิร์ด ไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ได้ขึ้นหน้าหนึ่ง)
  • เว็บที่มีบทความเกี่ยวกับหลายๆ หัวข้อ เพียงเพื่อที่จะให้ติดหน้า 1 ของกูเกิ้ล
  • ใช้ AI เพื่อเขียนบทความให้
  • เอาสิ่งที่คนอื่นพูดหรือเขียนมาสรุป โดยที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเพิ่มเติมกับผู้อ่าน
  • คอนเทนท์ที่เขียนขึ้นมาเพียงเพราะว่ามันกำลังติดเทรนด์ ไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านปัจจุบัน/ผู้ติดตาม
  • คนอ่านแล้ว รู้สึกว่าต้องไปหาข้อมูลจากที่อื่นอ่านอยู่ดี (อ่านแล้วไม่สุด เอาง่ายๆเลย)
  • คอนเทนท์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้มันได้จำนวนคำที่เยอะพอเท่านั้น ไม่ได้ห่วงเรื่องคุณภาพ
  • เขียนเกี่ยวกับหัวข้อที่ตัวเองไม่ได้มีความรู้ที่แท้จริง แต่เขียนเพราะอยากจะได้ traffic เฉยๆ
  • บทความที่เขียนขึ้นมาหลอกให้คนเข้ามาอ่าน แต่ไม่ได้มีคำตอบจริงๆ เช่น วันฉายหนังที่ยังไม่มีกำหนด แต่เขียนขึ้นมาเพราะว่ามันติดเทรนด์

เพื่อนๆ อ่านแล้วลองคิดตามผมนะครับ ผมคิดว่ามันค่อนข้างจะสำคัญเลย เพราะว่าตอนนี้มีเว็บหลายเว็บมากที่ทำแบบนี้อยู่ครับ เขียนบทความขึ้นมาทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมาก เขียนมาเพื่อแค่จะติดหน้าแรกของ Google เท่านั้น เพื่อจะเอา traffic

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีบทความประมาณนี้อยู่ ผมอยากจะให้เพื่อนๆ เข้าไปแก้ไขก่อนนะครับ เพราะว่ายังไงพวก update พวกนี้ มันใช้เวลาพอสมควรครับ (4 – 8 อาทิตย์) กว่าเขาจะปรับใช้จนสมบูรณ์ครับ ระหว่างนี้ก็รอและดูว่าเว็บไซต์ของเรา ได้รับผลกระทบอะไรหรือเปล่าครับ

5 สิ่งที่ต้องทำเมื่อ Google ออก Update ตัวนี้

มาถึงตรงนี้แล้ว เรามาดูกันครับ ว่าเพื่อนๆ จะสามารถทำยังไงได้บ้าง แล้วเราจะมีวิธีรับมือกับมันยังไง ถ้ามันมีผลกระทบต่อเว็บไซต์ของเราจริงๆ

สิ่งที่ต้องทำ #1: เช็ค content บนเว็บของตัวเอง 

ตอนนี้สำคัญมากครับ เพราะไม่อย่างนั้น เราจะโดนปรับลดระดับ (penalized) จาก Google แน่นอนครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือเข้าไปที่ post ทั้งหมดของเรา แล้วเข้าไปดูว่าตัวไหนบ้างที่มันเข้าพวกครับ ถ้าเจอตัวที่เข้าพวก ถ้าไม่อยากลบ ก็ไม่เป็นไรนะครับ สามารถตั้งโพสต์ให้เป็น draft ก่อนได้ครับ

ตั้งโพสต์ให้เป็น draft ก่อน ไม่จำเป็นต้องลบ

ถ้าใครใช้ WordPress ก็สามารถมาตั้งตรงนี้ได้เลยครับ กด OK มันก็จะทำให้ Google เห็นว่าหน้าเพจนี้ ไม่ต้องเอาขึ้นผลการค้นหานะ (search results) Google ก็จะไม่มองว่าหน้านี้ของเว็บเรามันเข้าพวกครับ

สิ่งที่ต้องทำ #2: เขียนบทความที่เรามีความรู้จริงๆ 

อย่างที่ Google เขาได้บอกในประกาศของเขาครับ ว่าเขาอยากจะให้คนที่มาให้ความรู้ เป็นคนที่เขารู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เขาเขียนจริงๆ ไม่ใช่ว่าจะเอาใครมาเขียนก็ได้ เพราะไม่อย่างนั้น คนที่อ่าน เขาก็จะไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงครับ

ตอนนี้ถ้าเรามีบล็อกเกี่ยวกับเว็บดีไซน์ จะไปเขียนเกี่ยวกับการเงิน มันก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ? เพราะว่ามันอยู่นอกเหนือจาก “ความสามารถหรือความถนัดของเรา” (area of expertise).

สิ่งที่ต้องทำ #3: ทำคอนเทนท์ที่ตอบคำถามผู้อ่านได้คลอบคลุม 

จริงๆ เท่าที่ผมเคยเขียนคอนเทนท์มา ผมก็สังเกตนะครับว่าทำไมบทความที่ผมเขียนยาวมันถึงได้อันดับดีบน Google หรือว่าบทความที่มันยาวๆ มันดี ยิ่งยาวยิ่งดี?

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมเพิ่งมาเข้าใจเหมือนกันครับว่า มันไม่ใช่แบบนั้น บทความที่เขาตอบคำถามผู้อ่านได้มากที่สุด มักจะมีความยาวหน่อยครับ เพราะถ้ามันสั้น มันก็จะตอบอะไรไม่ได้จริงไหมครับ อ่านนิดเดียวก็จบแล้ว ยังไม่ทันได้เข้าใจอะไรเลย

เพราะฉะนั้นใน update นี้ Google บอกชัดเจนนะครับว่า ความสั้นยาวไม่เกี่ยว แต่สิ่งที่เขาไม่ได้บอกมาตรงๆ ก็คือ เราต้องตอบคำถามผู้อ่านได้ให้คลอบคลุมครับ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเขาค้นหาคำว่า “โฆษณา Facebook” แล้วผมดันเขียนบทความที่บอกว่า “โฆษณา Facebook คือออะไร” แค่นั้น จบ เพื่อนๆ ว่ามันคลอบคลุมพอไหมครับ?

ต้องไม่แน่นอน จริงไหมครับ? เพราะว่าเอาจริงๆ แล้ว โฆษณา Facebook หัวข้อนี้ มันลงลึกได้มากกว่านั้นเยอะมากครับ เพราะฉะนั้น Google เขาจะชอบบทความที่ลงลึกและทำให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์แบบคลอบคลุมครับ

สิ่งที่ต้องทำ #4: อย่าจ้างคนเขียนบทความที่ไม่มีคุณภาพ 

Google เขาไม่ชอบคอนเทนท์ที่คนเขารีบๆ ทำขึ้นมาครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปจ้างคนเขาเขียนบทความให้เรา โดยเฉพาะคนที่เขาคิดราคาเราถูกๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ที่เขาจะค้นหาข้อมูล เขียนออกมาได้ดีขนาดนั้น อย่างมากก็คงไปอ่านข้อมูลจากที่ไหนสักที่ แล้วก็เอามาเขียนตามสไตล์ของเขา จริงไหมครับ?

แบบนี้ Google เขามองว่าเป็นคอนเทนท์ที่ไม่มีคุณภาพนะครับ เพราะ Google เขาให้สัญญาณมาสักพักใหญ่ๆ จาก Google’s Core Updates ว่าเขาต้องการบทความที่มีคุณภาพครับ เขาไม่ต้องการบทความที่เขียนขึ้นมา เพียงเพื่อต้องทำขึ้นมาเพื่อให้ Google เห็นเฉยๆ แบบนี้ไม่โอเค

สิ่งที่ต้องทำ #5: ดูบทความคนอื่นได้ แต่ต้องเขียนเอง 

อันนี้ผมไม่ได้เอามาจาก Helpful Content Update นะครับ แต่ผมเอามาจาก Core Updates ครับ ซึ่งมันก็เป็นอัพเดทก่อนหน้า Helpful content อีกที เอาง่ายๆ เลยก็คือเราสามารถไปดูบทความคนอื่นและเอาไอเดียเขามาปรับเขียนได้ แต่อย่าลอกเลยซะทีเดียว

ดูบทความคนอื่นได้ แต่อย่าลอกนะ

เพราะถ้าเราไปลอกบทความคนอื่นมา (อารมย์เหมือนอ่านบทความเดียวกัน แต่เขียนคนละแบบ) คนที่เข้ามาอ่าน เขาจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากบทความที่เขาอ่านจากเราครับ เพื่อนๆ พอจะนึกภาพออกไหมครับ?

ตัวผมเอง เอาจริงๆ ผมก็ทำนะครับ ปกติผมเป็นคนชอบอ่านอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นบางทีก็จะไปเจอบทความที่มันน่าสนใจ คิดว่าอยากจะเอาความรู้มาแชร์กับเพื่อนๆ ผมก็จะบันทึกเอาไว้แล้วก็เอามาเขียน แต่ผมก็ไม่ได้ลอกนะครับ

ตัวอย่างเช่น ถ้าผมเจอบทความ “โฆษณาเฟสบุ๊ค ทำไมถึงแย่จังช่วงนี้” ผมก็รู้ละ ว่าจะเขียนเกี่ยวกับโฆษณาเฟสบุ๊ค ว่าทำไมมันถึงแย่จัง เพื่อนๆ นึกภาพออกไหมครับ? แต่เนื้อหาข้างใน ผมไม่ได้เขียนเหมือนเขาเลย อารมย์ประมาณนี้ ผมคิดว่า Google น่าจะโอเคนะครับ

สิ่งที่ต้องทำ #6: เว็บต้องรับการดูในมือถือได้ดี (mobile responsive)

อ่านบนมือถือได้ดีไหม

ผมคิดว่าข้อนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ผมก็ยังอยากที่จะย้ำอีกรอบนะครับ เพราะว่าถ้าผมจำไม่ผิด Google พยายามย้ำเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2011 – 2012 แล้วครับ ว่าอยากที่จะให้ทุกคนทำเว็บไซต์ของตัวเองให้มันเป็น mobile ready/responsive ครับ

เอาจริงๆ แล้ว มากกว่า 60% ของคนที่ค้นหาข้อมูลบน Google เขาก็ใช้มือถือกันหมดครับ ถ้ากดเข้าเว็บผ่าน Google ไปแล้วละมันอ่านไม่ได้ มันเสียอารมย์จริงไหมครับ?

ตัวอย่าง mobile ready ของ ZOZAV

เพื่อนๆ จะเห็นนะครับว่าเว็บของผม (ZOZAV) ผมพยายามทำยังไงก็ได้ ให้มันอ่านในมือถือได้ดีที่สุดครับ ถ้าทำออกมาแล้ว เพื่อนๆ ที่ใช้อ่านในมือถือ มันจะได้อ่านได้ไม่ยากครับ วันนี้เพื่อนๆ ถ้าไม่มั่นใจเว็บตัวเองมันจะเหมาะกับการดูบนมือถือไหมนะ เรามีวิธีเช็คง่ายๆ ครับ

เพื่อนๆ เข้าไปที่เว็บ www.responsivedesignchecker.com ได้เลยครับ

วิธีการทดสอบ responsiveness ของเว็บไซต์เรา (mobile ready)

เพื่อนๆ สามารถกดตัวเลือกข้างซ้ายตรงนี้ได้ครับ เขาจะมีให้เลือกว่าอยากจะลองดูจากอุปกรณ์มือถือ คอม หรือ tablet แบบไหน รุ่นไหน สามารถเลือกได้เลยครับ

เลือก device ได้เลย ว่าอยากจะเอารุ่นไหน อะไรยังไง

ถ้าเพื่อนๆ ทดสอบดูแล้วมันโอเค แบบนี้ก็เยี่ยมเลยครับ ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าไม่ ก็คงอาจจะต้องกลับไปแก้ไขเสียก่อนครับ ไม่อย่างนั้น เว็บของเพื่อนๆ อาจจะไม่มีทางติดหน้า 1 ได้เลยครับ (Google โคตรเข้มงวดเลยข้อนี้)

สิ่งที่ต้องทำ #7: เช็คว่าคุณภาพของบทความของเรากับคู่แข่ง 

คุณภาพคอนเทนท์ของเรา ถ้าเทียบกับคู่แข่ง ว่าเป็นยังไง

เพื่อนๆ จะต้องลองเอา keywords ที่เพื่อนๆ ติดหน้า Google อยู่ หรือไม่ก็เป็น keywords ที่เพื่อนๆ อยากจะติดอันดับกดเข้าไปดู ดูว่าคู่แข่งของเพื่อนๆ ที่เขามีบทความอยู่ คุณภาพเขาเป็นยังไงถ้าเทียบกับของที่เรามีอยู่แล้วครับ

เพราะว่า Google ให้ความสำคัญกับคุณภาพตรงนี้มากครับ คุณภาพดีมันยังไม่ดีพอนะครับ ถ้ายังดีไม่มากกว่าของคู่แข่งครับ เช่น ถ้าเพื่อนๆ ทำคอนเทนท์มาแทบตาย แต่สุดท้ายมันยังดีไม่พออยู่ดี เราก็ไม่ได้อันดับครับ เพื่อนๆ พอจะนึกภาพออกไหมครับ?

สรุปเลยแล้วกัน เกี่ยวกับ Google update ตัวนี้

ผมอยากจะบอกว่าที่เขา update นี้ จริงๆ Google เขาอัพเดทปีละหลายพันครั้งนะครับ เขาจะดูภาพรวมใหญ่ก่อนว่าการบริโภคข้อมูลของคนเป็นยังไง แล้วเขาก็จะปรับ algorithm เขาไปในทิศทางนั้นๆ ครับ เช่น เขาเห็นว่าคนน่าจะใช้มือถือในการค้นหาข้อมูลมากขึ้น เขาก็จะปรับ algorithm เขาให้มันไปจับเว็บที่เข้ากับมือถือได้ครับ

แต่ละครั้งที่เขา update ระบบ algorithm ของเขา มันใช้เวลานานนะครับ ไม่ใช่ว่าเขาอัพเดทวันนี้ แล้วพรุ่งนี้มันจะเริ่มเปลี่ยนแปลงเลย มันใช้เวลาหลายอาทิตย์ครับ เพราะฉะนั้นเรายังมีเวลาที่จะปรับหรือแก้ไขอะไรก่อนครับ

ปกติ Google เขาจะให้สัญญาณเรานานพอสมควรครับ กว่าที่เขาจะลง update เขาในแต่ละที เขาประกาศมาไกลๆ ก่อนละ แล้วค่อยมาอัพเดท

อีกอย่างที่อยากให้เพื่อนๆ เอาไปคิดครับ ว่าจริงๆ แล้ว Google เขาไม่ได้บอกเราทุกอย่างหรอกครับ เขาบอกแค่อะไรที่เขาอยากจะให้เรารู้เท่านั้นแหละครับ เพราะต้องเข้าใจว่าคนมันก็จะพยายามไปโกงระบบ ถ้าเขาบอกหมดทุกอย่าง

แล้วเรายังไม่รู้เลยว่าระบบที่เขาจะอัพเดทนี้ มันจะสามารถทำได้จริงๆ หรือเปล่า เขาจะจับคุณภาพของบทความหรือคอนเทนท์ได้จริงๆ หรือไม่? อันนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนะครับ

ทางที่ดีให้เพื่อนๆ ค่อยๆ ดูต่อไปดีกว่าครับ อย่าเพิ่งไปตกใจอะไรครับ ถ้ามีความคิดเห็นอะไรอยากจะแชร์ ก็คุยกันได้เลยนะครับ

โพสที่มีคนอ่านเยอะที่สุด: 

สำหรับวันนี้ขอให้รวยๆ เฮงๆ ครับ

Joe Jitnarin
Content Marketing SEO การตลาดออนไลน์สำหรับ SME วิธีเริ่มทำธุรกิจ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Previous reading
5 ข้อที่คุณต้องจำ เริ่มทำโฆษณาออนไลน์ (จะได้ไม่พลาดเหมือนผม)
Next reading
เริ่มต้นลงโฆษณาบน Shopee แบบประหยัด (งบแค่ 1,000 บาท ก็ทำได้)